วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

International Organizations

 

International Organizations

CACM (Central American Common Market)กลุ่มตลาดร่วมอเมริกากลาง
ก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2506 ประกอบด้วยคอสตาริกา กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และเอลซัลวาดอร์
CAP (Common Agricultural Policy)นโยบายร่วมเกษตร
เป็นนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรป
EAC (East Asia Community)ประชาคมเอเชียตะวันออก
EASG (East Asia Study Group)กลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออก
ECB (European Central Bank)ธนาคารกลางยุโรป
มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครแฟรงเฟิร์ต ประกอบด้วยผู้ว่าธนาคารกลางของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มีหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินและการนำเงินสกุลยูโรมาใช้ในระบบยูโร (EURO System)
FTAA (Free Trade Area of the Americas)เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา
" ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดขององค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States หรือ OAS) ยกเว้นประเทศคิวบา มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2548 (OAS มีสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา โดมินิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา แอนติกัวและบาร์บูดา เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ จาเมกา บาร์เบโดส เกรนาดา สุรินาเม โดมินิกา เซนต์ลูเซีย บาฮามาส เซนต์คิดตส์และเนวิส เบลิซ กายอานา ตรินิแดดและโตบาโก)
GBC (General Border Committee)คณะกรรมการชายแดนทั่วไป
เป็นกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง ชายแดน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นประธานร่วมกัน ทำหน้าที่กกำหนดแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือ รักษาความสงบเรียบร้อยและเสถียรภาพในพื้นที่บริเวณชายแดน ซึ่งกลไกนี้ไทยมีกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันทั้ง 4 ประเทศ
GICHD (Geneva International Centre for Humanitarian Demining)
ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการเก็บกู้ทุนระเบิดด้านมนุษยธรรมแห่งนครเจนีวา
HRC (Human Rights Committee)คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
เป็นกลไกติดตามผลการอนุวัติกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR)
IAEA (International Atomic Energy Agency)ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นองค์การอิสระและมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ICBL (International Campaign to Ban Landmines)องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด
ILO (International Labor Organization)องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม
OAS ( Organization of American States)คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดยสันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา
OAU (Organization of African Unity)องค์การเอกภาพแอฟริกา
SAARC (South Asian Association for Regional Cooperation)
สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้
จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2528 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างกัน โดยมีสมาชิกประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ และมัลดีฟส์
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ที่กรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ปัจจุบัน OAU มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 52 ประเทศ
SPDC (State Peace and Development Council)สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC
TCTP (Third Country Training Program)โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม
" เป็นรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิเทศสหการกับองค์การระหว่างประเทศและ/หรือรัฐบาลต่างประเทศในการจัด หลักสูตรการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนา โดยองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศเป็น ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนและค่าใช้จ่ายในการศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงาน

UNCDF (United Nations Capital Development Fund)กองทุนพัฒนาเงินทุนแห่งสหประชาชาติ


VAP (Vientiane Action Programme)แผนปฏิบัติการเวียงจันทร์


WEF (World Economic Forum)การประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก"


WHO (World Health Organization)องค์การอนามัยโลก


WMO (World Meteorological Organization)องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก


ที่มาอ้างอิง http://www.mfa.go.th/web/856.php?code=w
โดย http://noopajung.blogspot.com/