วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

Bill of Lading

Bill of Lading
ใบตราส่งสินค้า
  • เป็นตราสารที่ผู้รับขนสินค้าออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อแสดงว่าได้มีการรับสินค้าเพื่อนำส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ผู้ส่งสินค้ากำหนด ใบตราส่งสินค้ามีหลายชนิด เช่น
  • ใบตราส่งสินค้าทางทะเลเรียกว่า Ocean Bill of Lading ซึ่งมีลักษณะปลีกย่อยดังนี้ ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า Multimodal Transport Document หรือ Combine Transportation Bill of Lading
  • ใช้ในการขนส่งที่ผู้รับสินค้าไม่ต้องนำต้นฉบับใบตราส่งไปขอรับสินค้า ซึ่งในทางปฏิบัติผู้รับสินค้าสามารถใช้สำเนาใบตราส่งไปขอรับใบสั่งปล่อยจากตัวแทนเรือได้ เรียกว่า Seaway Bill หรือ Express Bill ใบตราส่งประเภทนี้ผู้รับตราส่งจะต้องเป็นผู้นำเข้าโดยตรง และความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งมีน้อยกว่าใบตราส่งประเภทอื่น
  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเรียกว่า Air Way Bill
  • ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ เรียกว่า Railway Bill

บริการส่งสินค้าทางเรือ

 
ทางบริษัทมีบริการขนส่งทางเรือจากท่าเรือกรุงเทพถึงท่าเรือจุดหมายปลายทางทั่วโลก
โดยการขนส่งทางเรือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 ) ขนส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้ LCL
เป็นการขนส่งแบบรวมตู้กับลูกค้าท่านอื่น จึงต้องมีการแพคกิ้งอย่างดี
คิดราคาเป็นคิวบิกเมตร โดยคำนวณจาก Cubic Meter (CBM) = กว้าง x ยาว x สูง (ซม) / 1,000,000
2 ) ขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้ FCL
เป็นการขนส่งแบบลูกค้าเหมาตู้ไปเองคนเดียว
คิดราคาตู้ขนาด 20"feet ( ประมาณ 28-32 CBM) , 40"feet ( ประมาณ 56-64 CBM) , 40 HQ  ( ประมาณ 64-72 CBM)


การขนส่งสินค้าทางทะเล

การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ จากรายงานของโครงการศึกษาแผนหลักการพาณิชยนาวี ของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม รายงานฉบับสมบูรณ์ สิงหาคม 2542 ระบุว่า ประเทศไทยพัฒนาประเทศโดยอาศัยการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด มีการนําเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีมูลค่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) การขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยเป็นการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้าและส่งออกสินค้าจึงควรจะศึกษาและทําความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สําคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนี้คือ

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่
• เจ้าของเรือ (SHIP OWNER)
• ผู้เช่าเรือ (SHIP CHARTERER)
• ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (SHIPPING AGENT & FREIGHTFORWARDER)
• ผู้ส่งสินค้า (SHIPPER or EXPORTER)
• ผู้รับตราส่ง (CONSIGNEE)
• ผู้รับสินค้า (NOTIFY PARTY)

โครงสร้างค่าระวางเรือของ Liner Vessel มีลักษณะแตกต่างจาก Charter Vessel คือ
A. ค่าระวางของเรือ Liner หรือเรือประจําเส้นทาง
ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทาง อัตราจะขึ้นอยู่กับระยะทางเส้นทางเดินเรือและตารางเวลา เรือวิ่งประจําเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่เป็นสมาชิกอยู่ในชมรมเดินเรือประจําเส้นทางนั้นๆ เช่น ชมรม
เดินเรือเอเชีย-อเมริกาเหนือ (Asia-North American Eastbound Rate Agreement - ANERA) อัตราก็จะใกล้เคียงกันทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีเรือที่อยู่นอกชมรมเดินเรือมากขึ้น เรือเหล่านี้ก็จะมีอัตราค่าระวางน้อยกว่าเรือในชมรมเดินเรือ ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทางประกอบไปด้วย
-  อัตราค่าระวางพื้นฐาน (Basic Freight Rate)
- เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (Bunker Adjustment Factor Surcharge- BAF)
- เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา(Currency Adjustment Factor Surcharge - CAF)
- นอกจากค่าระวางเรือแล้ว บริษัทเรือยังอาจเรียกเก็บค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้นทางได้อีกด้วย เช่น
1. ค่าขนถ่ายตู้สินค้าที่ท่าเรือ (Terminal Handling Charge - THC)
2. ค่าท่าคับคั่ง (Congestion Surcharge)
3. ค่าบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ (Container Freight Station Charge - CFS Charge)
4. ค่าออกเอกสาร เป็นต้น
5. ซึ่งค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษเหล่านี้บริษัทเรือเรียกเก็บในอัตราค่อนข้างสูง เช่น
-  ค่า CFS Charge สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 4,215 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 8,430 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต
-  ค่า THC สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 2,600 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 3,900 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต
6. ค่าระวางพิเศษหรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่เรียกเก็บที่ต้นทางนี้เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือต้องจ่ายออกไปแล้วนับว่าเป็นเงินที่เรียกเก็บในอัตราที่สูงมาก


บริการส่งสินค้าทางเรือ
ทางบริษัทมีบริการขนส่งทางเรือจากท่าเรือกรุงเทพถึงท่าเรือจุดหมายปลายทางทั่วโลก
โดยการขนส่งทางเรือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 ) ขนส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้ LCL
เป็นการขนส่งแบบรวมตู้กับลูกค้าท่านอื่น จึงต้องมีการแพคกิ้งอย่างดี
คิดราคาเป็นคิวบิกเมตร โดยคำนวณจาก Cubic Meter (CBM) = กว้าง x ยาว x สูง (ซม) / 1,000,000
2 ) ขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้ FCL
เป็นการขนส่งแบบลูกค้าเหมาตู้ไปเองคนเดียว
คิดราคาตู้ขนาด 20"feet ( ประมาณ 28-32 CBM) , 40"feet ( ประมาณ 56-64 CBM) , 40 HQ  ( ประมาณ 64-72 CBM)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น